|
ลักษณะภูมิประเทศ / ภูมิอากาศ |
สภาพพื้นที่มี 3 ลักษณะประกอบด้วย พื้นที่ราบลุ่มทำนา พื้นที่ป่าพรุ และพื้นที่สวน
ผลไม้ และมีลักษณะภูมิอากาศทั่วไปไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไป มีมรสุมพัดผ่านตลอดปี
มีฤดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ มิถุนายน) และฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - เดือนมกราคมของปีถัดไป) |
|
เขตการปกครอง |
แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 40 หมู่บ้าน คือ
1. ตำบลนาพรุ 7 หมู่บ้าน พื้นที่ 57.903 ตารางกิโลเมตร
2. ตำบลนาสาร 7 หมู่บ้าน พื้นที่ 27.747 ตารางกิโลเมตร
3. ตำบลช้างซ้าย 13 หมู่บ้าน พื้นที่ 38.904 ตารางกิโลเมตร
4. ตำบลท้ายสำเภา 13 หมู่บ้าน พื้นที่ 62.472 ตารางกิโลเมตร |
|
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีองค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง ดังนี้ |
1. องค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ
2. องค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
3. องค์การบริหารส่วนตำบลช้างซ้าย
4. องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา |
|
ประชากร/รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี |
อำเภอพระพรหม มีประชากร จำนวน 29,358 คน
- เป็นชาย 14,661 คน
- เป็นหญิง 14,697 คน และ
มีรายได้เฉลี่ยของประชาชนต่อคนต่อปี เป็นเงิน 39,311.- บาท ดังนี้ |
ตารางแสดงจำนวนประชากรจำแนกรายตำบลและรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี* |
ตำบล |
ประชากร |
จำนวนครัวเรือน |
รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี |
ชาย |
หญิง |
รวม |
นาสาร |
3,295 |
3,318 |
6,613 |
1,704 |
37,050.- |
ช้างซ้าย |
4,271 |
4,290 |
8,561 |
2,241 |
39,099.- |
ท้ายสำเภา |
4,674 |
4,593 |
9,267 |
2,495 |
40,157.- |
นาพรุ |
2,421 |
2,496 |
4,917 |
1,232 |
41,401.- |
รวม |
14,661 |
14,697 |
29,358 |
7,763 |
39,311 |
|
|
การศึกษา สถานศึกษา |
- ระดับประถมศึกษา จำนวน 16 โรง
- ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 3 โรง
- วิทยาลัยการอาชีพ จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัย จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย
- มหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวันครศรี ฯ
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
|
สถานที่ราชการ |
พื้นที่อำเภอพระพรหม มีส่วนราชการสังกัด ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และรัฐวิสาหกิจ ตั้งอยู่ในพื้นที่ ดังต่อไปนี้
1. สำนักงานทางหลวงชนบท จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 (ภาคใต้) จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพระพรหม
4. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช
5. วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
6. สถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดนครศรีธรรมราช
7. สำนักงานขนส่งจังหวัดนครศรีธรรมราช
8. ฝ่ายเรือขุดและเรือกำจัดวัชพืชที่ 7
9. หน่วยปฏิบัติการงาน 2 งานปฏิบัติการรถขุดที่ 6.2
10. โครงการชลประทานนครศรีธรรมราช
11. สถานีเพาะชำกล้าไม้นครศรีธรรมราช
12. สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 8
13. สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์นครศรีธรรมราช
14. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
15. สถานีควบคุมไฟฟ้าจังหวัดนครศรีธรรมราช
16. มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรตินครศรีธรรมราช
17. ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนครศรีธรรมราช
18. การประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช
19. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
20. เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช
21. สถานีวิทยุกระจายเสียงองค์การสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยจังหวัดนครศรีธรรมราช
22. ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช
23. ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 21 จังหวัดนครศรีธรรมราช |
|
ศาสนา/ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี |
- วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 20 แห่ง
- มัสยิด จำนวน 1 แห่ง
- งานประเพณีที่สำคัญ ประเพณีชักพระ ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีแห่เทียนพรรษา วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ฯลฯ |
|
|
|
การสาธารณสุข |
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 6 แห่ง |
|
ศักยภาพที่เอื้อต่อการพัฒนา |
1.ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ อำเภอพระพรหมราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่มีความหลากหลาย เช่นที่ราบ ที่ราบลุ่ม และป่าพรุ ประกอบกับอำเภอพระพรหมเป็นอำเภอนำร่องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ทำให้ราษฎรมีความเข้าใจในการทำการเกษตรมากขึ้น สามารถลดรายจ่าย โดยการผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง และเพิ่มรายได้โดยการขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะอยู่ใกล้ตลาดชุมชนเมือง และผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด
2. ศักยภาพโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมมีถนนหลายสาย เชื่อมโยงระหว่างตำบล หมู่บ้าน เช่น ทางหลวงแผ่นดินสายนครศรีฯ - ทุ่งสง ทางหลวงแผ่นดินสายสี่แยกนพวงค์ - สี่แยกเบญจมราชูทิศ ทางหลวงชนบทสายขุนทะเล - พระพรหม และถนนสายภายในหมู่บ้านหลายสายที่ติดต่อกับพื้นที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และอำเภอลานสกา |
|
|
|
3. ศักยภาพด้านประเพณี และวัฒนธรรม อำเภอพระพรหม มีองค์กรหลากหลายทั้งภาครัฐ เอกชน และกลุ่มพลังมวลชน ต่าง ๆ มีสภาวัฒนธรรมอำเภอ ตัวแทนเครือข่ายในการประสานงานเพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณี วัฒนธรรมส่งเสริมให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป |
|
ผลิตภัณฑ์ สินค้าที่มีชื่อเสียง |
ผลิตภัณฑ์ สินค้าที่มีชื่อเสียง ของอำเภอพระพรหม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จักสาน
ไม้ไผ่ ผ้าบาติก หัตถกรรมเครื่องเงิน หัตถกรรมเครื่องถม ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยอัดเม็ด ข้าวซ้อมมือ ขนมทองม้วน ผักปลอดสารพิษ ผักบุ้งแก้ว มะนาว กบ ปลาดุก ปลานิล ยางพารา และผลไม้ต่าง ๆ เช่น มังคุด เงาะ ลองกอง ทุเรียน ลางสาด ฯลฯ |
|
|